เทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช : www.chamai.go.th
 
 
วิสัยทัศน์ - พันธกิจ

วิสัยทัศน์ - พันธกิจ
               ความเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจทางสังคม การเมือง เทคโนโลยี ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้สังคมเกือบทุกแห่งได้เผชิญกับปัญหามากมายหลายประการ จำเป็นต้องสร้างปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาวะโลกาวิวัตน์และปัญหาการขาดประสิทธิผลของการบริหารราชการ สร้างการเปลี่ยนแปลงทางด้านกระบวนทัศน์ รูปแบบและวิธีการบริหารงานของหน่วยงาน ไปสู่รูปแบบการบริหารงานแผ่นดินแนวใหม่ ( New public administration model ) ที่เรียกว่า การบริหารจักการงานของรัฐตามหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อันเป็นรูปแบบแนวทางในการบริหารจักการงาน ที่ได้ทีการผสมผสานหลักการ กรอบความคิดหลายๆประการเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ การนำแนวคิดทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่ แนวคิดทางรัฐศาสตร์รวมสมัยและการดำเนินการตามหลักกฎหมายมหาชน และแนวพระราชดำริของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นแนวทาง ซึ่งกระผมได้นำมาเป็นหลักบริหารราชการ โยมีหลัก ดังนี้
 
               1. แยกบทบาทที่ชัดเจนระหว่างข้าราชการฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ โดยการแยกบทบาทออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างบทบาทของข้าราชการฝ่ายเมืองและข้าราชการฝ่ายประจำ ข้าราชการฝ่ายเมืองจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและวางยุทธศาสตร์หลักทางการบริหารให้ข้าราชการฝ่ายประจำเป็นผู้นำนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปปฏิบัติให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
 
               2. การเพิ่มบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการทำงานของข้าราชการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง จักให้มีกลไกรูปแบบทางสังคมการเมือง รวมทั้งส่งเสริม จัดให้มีกลไกเครื่องมือสำหรับปรับเปลี่ยนขยายตัวรูปแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างภาคราชการ องค์กรเอกชน ละภาคประชาสังคม ให้เป็นรูปแบบความสำพันธ์ในแนวนอน โดยมีการเปิดให้ระบบองค์กรเอกชน และภาคประชาสังคมเข้ามีบทบาทส่วนร่วมในการดเนินกิจกรรมต่างๆแทนองค์การภาคราชการมากขึ้น และมีการถ่วงดุลอำนาจ มีการตรวจสอบการทำงาน การใช้อำนาจขององค์การภาคราชการ
 
               3. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการมุ่งเน้น กฎ ระเบียบมาเป็นการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ปัจจัยด้านการเมือง การบริหาร อันได้แก่ การพัฒนาการของสังคมการเมืองที่นำไปสู่การแยกบทบาทที่ชัดเจนระหว่างข้าราชการฝ่ายเมืองและข้าราชการประจำ ตามกรอบการบริหารจักการบ้านเมืองที่ดี ( Good Governance ) โดยให้ความสำคัญเรื่องการมุ่งเน้นผลสำฤทธิ์ อันประกอบด้วยพัฒนาองค์การ การพัฒนาคุณภาพการบริหารงาน การเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติราชการ ตามแนวพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
 
               4. การพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลแบบมุ่มผลสัมฤทธิ์ ปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานบุคคลให้เป็นที่เปิดกว้าง มุ่มเน้นในเรื่องการพัฒนาขีดสมรรถนะ (Competency) การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน และการส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐมีความประพฤติที่เหมาะสม มีความเป็นกลางทางการเมืองในการคุ้มครองระบบคุณธรรมมีการส่งเสริมพลังในการบริหารกำลังคน และการเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายกำลังคนให้แก่ส่วนราชการที่เป็นหน่วยปฏิบัติ
 
               5. การพัฒนาระบบงบประมาณ มุ่งเน้นผลงานเชิงยุทธศาสตร์ การจัดการงบประมาณ ซึ่งเป็นระบบงานที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ในการบริหารราชการจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นการจัดงบประมาณมุ้งเน้นผลงานเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อจะได้สามารถส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงาน ส่วนราชการสามารถตอบสนองปัญหาในเชิงยุทธศาสตร์ขององกรได้อย่างรวดเร็ว โดยจะต้องมีการส่งเสริมพลังให้แก่ส่วนราชการหน่วยปฏิบัติ มีการพัฒนากระบวนการจัดสรร ใช้จ่ายงบประมาณที่เป็นทรัพยากรขององค์กรให้มีความโปร่งใสและการแสดงภาระรับผิดชอบด้านผลงานอย่างเป็นรูปธรรมเน้นความรับผิดชอบ (Accountability) ของผู้บริหารต่อประชาชน กล่าวคือ ผู้บริหารจะต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนว่า องค์กรได้ใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างไร โดยการแสดงถึงว่าได้มีผลงานอะไรบ้าง ได้ให้บริการประชาชนในเรื่องใดบ้าง ผลงานหรือบริการเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ต่อการทำมาหากินของประชาชนอย่างไรและองค์กรจะต้องอธิบายต่อประชาชนได้ว่า กิจกรรมที่ทำลงไปนั้นเป็นการใช้ภาษีของประชาชนอย่างประหยัด มีประสิธิภาพ ก่อให้เกิดประสิทธิผลและคุ้มค่า